อลูมิเนียมเป็นโลหะที่สำคัญ ได้รับการใช้งานมากที่สุดในกลุ่มโลหะที่มีน้ำหนักเบา ทั้งนี้เพราะอลูมิเนียมมีคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ คือ
- มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา และมีกำลังวัสดุต่อน้ำหนักสูง จึงนิยมใช้ทำเครื่องใช้ไม้สอย ตลอดจนชิ้นส่วนบางอย่างในเครื่องบิน จรวด ขีปนาวุธ และอุปกรณ์ในรถยนต์ เพื่อลดน้ำหนักของรถให้น้อยลง จะได้ประหยัดเชื้อเพลิงตลอดจนชิ้นส่วนอากาศยาน
- มีความเหนียวมาก สามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ง่าย และรุนแรงโดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก
- จุดหลอมเหลวต่ำ หล่อหลอมง่ายและมีอัตราการไหลตัวสูง
- ค่าการนำไฟฟ้า คิดเป็น 64.94% ซึ่งไม่สูงนัก แต่เนื่องจากมีน้ำหนักเยาดังนั้นจึงใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าในกรณีที่คำนึงถึงเรื่องน้ำหนักเป็นสำคัญ
- เป็นโลหะที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย และไม่มีค่าการนำความร้อนสูง ใช้ทำภาชนะหุงต้นอาหาร และห่อรองรับอาหาร
- ผิวหน้าของอลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีดัชนีการสะท้อนแสงสูงมากจึงใช้ทำแผ่นสะท้อนในแฟลชถ่ายรูป จานสะท้อนแสงในโคมไฟ และไฟหน้ารถยนต์
- ทนทานต่อการเกิดเป็นสนิมและการผุกร่อน ในบรรยากาศที่ใช้งานโดยทั่วไปได้ดีมาก แต่ไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนของเกรดแก่และด่างทั่วๆไป
- ซื้อหาได้ง่ายในท้องตลาดและราคาไม่แพงนัก
- ใช้ในการตกแต่งในงานเฟอร์นิเจอร์ตลอดจนใช้เป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
- เป็นโลหะที่ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
คุณสมบัติทางเคมีกับอลูมิเนียม
- ออกซิเจน จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์อยู่ที่ชั้นผิวของอลูมิเนียม ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาต่อไป
- ไนโตรเจนจะทำให้เกิดไนไตรด์ที่อุณหภูมิสูง
- กำมะถัน จะไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
- ไฮโดรเจน ละลายแทรกซึมเข้าในอลูมิเนียมได้ และในการหล่ออลูมิเนียมถือว่าไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่จะต้องกำจัดออกให้หมดมากที่สุด
- กรดอนินทรีย์(เข้มข้น) อลูมิเนียมสามารถทนได้บ้าง
- กรดอนินทรีย์ (เจือจาง) จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทันที
- ด่าง สามารถละลายอลูมิเนียมได้
- เกลือ สามารถกัดกร่อนอลูมิเนียมได้
- กรดอินทรีย์ สามารถละลายในอลูมิเนียมได้ทันที (ยกเว้นกรดน้ำส้ม)
- กรดอินทรีย์+น้ำ ไม่เกิดปฏิกิริยากับอลูมิเนียม
- ฮาโลเจน ทำให้เกิดปฏิกิริยาทันที